HOME NEWS Products TV Signal in Deep

EDIUS11

Search dvm-mag


We have 26 guests online
TV Signal in Deep PDF Print E-mail
Written by Administrator   
Wednesday, 15 July 2009 20:07

รู้ลึกเรื่องสัญญาณโทรทัศน์ 

               เรื่องของสัญญาณและการวัด เป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่างและวิศวกรโทรทัศน์จะต้องเรียนรู้อย่างลึกซึ้งเป็นอันดับแรก แต่ในแง่ของผู้ผลิตรายการ ความจำเป็นจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับวิธีการผลิต หากการผลิตต้องเกี่ยวข้องกับกล้องและอุปกรณ์โทรทัศน์จำนวนมาก หรือต้องการควบคุมคุณภาพให้มีมาตรฐาน เป็นการผลิตรายการแบบมืออาชีพ สัญญาณต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องถูกควบคุมและตรวจสอบอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การถ่ายทำ การตัดต่อและลำดับภาพ จนถึงการป้อนสู่ระบบออกอากาศโทรทัศน์ และการเปิดชมอย่างมีคุณภาพอีกด้วย
               อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้อ่านทั่วไปที่ไม่ได้เป็นนักอิเล็กทรอนิกส์สามารถเข้าใจในเรื่องนี้ได้ ผู้เขียนจึงขอตัดส่วนที่เป็นรายละเอียดทางเทคนิคลึก ๆ ออกไป  แต่จะเน้นไปที่ความเข้าใจพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในงานควบคุมคุณภาพการผลิตมากกว่า ผู้ศึกษาไม่จำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือจริงมาวัดสัญญาณต่าง ๆ เหล่านี้ แต่สามารถทดลองกับเครื่องมือที่มีอยู่ในโปรแกรมหลาย ๆ ตัว สำหรับผู้สนจริง ๆ ก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสารอ้างอิงที่ระบุไว้ท้ายบทความนี้ได้

การแสดงภาพโทรทัศน์
               เริ่มตั้งแต่ความพยายามในการสร้างภาพเคลื่อนไหวจากภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพโดยอาศัยความเฉื่อยของสมองมนุษย์ที่ยังจำภาพที่เห็นได้อีกประมาณ 0.1 วินาที หลังจากภาพนั้นหายไปแล้ว (persistence of vision) จากการทดลอง คนส่วนใหญ่สามารถมองเห็นลำดับของภาพนิ่งที่ต่อเนื่องกันเป็นภาพเคลื่อนไหวโดยไม่กระตุกได้ที่อัตราการแสดง 10-12 ภาพต่อวินาที นอกจากนั้นยังมีการค้นพบว่าสายตาจะมีความไวมากขึ้น หรือรับรู้อาการกระพริบได้ (ถึงจะดูไม่กระตุก) หากภาพที่ฉายมีความสว่างมากขึ้น ดังนั้นมาตรฐานของอัตราการแสดงภาพเคลื่อนไหวจากภาพนิ่งจึงกำหนดให้สูงขึ้นอีกเล็กน้อยเป็น 16 ภาพต่อวินาที ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาเครื่องฉายให้มีความสว่างมากขึ้น การกระพริบก็กลับมาเป็นปัญหาอีก การเพิ่มอัตราการแสดงภาพจะช่วยลดการกระพริบได้แต่ก็จะสิ้นเปลืองฟิล์มที่มีราคาแพง เทคนิคที่ช่วยได้อย่างง่าย ๆ โดยไม่ต้องใช้ฟิล์มเพิ่มและกลายเป็นมาตรฐานของเครื่องฉายฟิล์มทั้งหมดในเวลาต่อมาก็คือ การปิดเปิดแสงสองครั้งต่อหนึ่งภาพเพื่อให้เกิดการกระพริบเป็นสองเท่า หรือเท่ากับ 32 ครั้งต่อวินาที นั่นเอง
              ต่อมาเมื่อเครื่องฉายมีการพัฒนาให้มีกำลังส่องสว่างมากขึ้น ปัญหาเดิมก็กลับมาอีก คราวนี้การแก้ปัญหาได้ทำควบคู่ไปกับปัญหาด้านเสียงที่ปรับปรุงคุณภาพได้ยากเพราะฟิล์มเคลื่อนผ่านเครื่องฉายช้าเกินไป การเพิ่มอัตราการแสดงภาพมาตรฐานไปเป็น 24 ภาพต่อวินาที ทำให้แก้ปัญหาได้ไม่เฉพาะเรื่องกระตุกและกระพริบ เมื่อใช้กับเครื่องฉายรุ่นใหม่ที่มีกำลังส่องสว่างมาก ๆ เท่านั้น แต่ยังทำให้คุณภาพของเสียงดีขึ้นอีก 50% ทันที มาตรฐานนี้จึงเป็นที่ยอมรับและใช้กันมาจนทุกวันนี้
               ในระบบโทรทัศน์ จะใช้วิธีการกราด (scan) ภาพทีละจุดแทนที่จะแสดงภาพเต็ม ๆ แบบภาพยนตร์ การกราดของโทรทัศน์จะเริ่มจากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง เมื่อครบหนึ่งรอบจึงจะได้ภาพหนึ่งภาพ แต่โทรทัศน์ไม่ได้นำเอาอัตราการแสดงภาพ 24 ภาพแบบภาพยนตร์มาใช้เนื่องจากจะถูกรบกวนจากความถี่ 50Hz (หรือ 60Hz) ที่มาจากระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้อยู่ในประเทศนั้น ๆ การรบกวนนี้จะปรากฏเป็นแถบคาดแนวนอนเลื่อนลงทุก ๆ วินาที ในทางเทคนิคจึงเลือกอัตราการแสดงภาพที่ 25 (หรือ 30) ภาพต่อวินาทีซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่ถูกรบกวนจากระบบไฟฟ้าแทน อย่างไรก็ตามเนื่องจากการกราดภาพต้องใช้เวลาหนึ่งกว่าภาพจะสมบูรณ์ ปัญหาการกระพริบจึงเกิดขึ้นคล้ายกับการฉายภาพยนตร์ที่ยังไม่ได้ใช้วิธีการเปิดปิดแสงสองครั้ง การแก้ไขทำได้โดยแยกการกราดภาพออกเป็นสองฟิลด์ คือฟิลด์เส้นคี่ (1, 3, 5 ..) สลับกับฟิลด์เส้นคู่ (2, 4. 6 ..) พร้อมกับเพิ่มอัตราในการแสดงภาพเป็น 50Hz (หรือ 60Hz) ซึ่งก็ยังได้อัตราการแสดงภาพเต็มเฟรมเท่าเดิม (25/30) การกราดภาพแบบนี้เรียกว่า การกราดแบบสอดประสาน (interlace scan) ด้วยวิธีนี้ปัญหาการกระพริบจะแก้ไขได้โดยไม่ต้องเพิ่มแบนด์วิดท์ของระบบให้สูงขึ้นแต่อย่างใด

รูปที่ 1 แสดงการกราดเส้นโทรทัศน์แบบสอดประสาน

** Please Login to read more ...  

Last Updated on Friday, 17 July 2009 15:30
 
Please register or login to add your comments to this article.