HOME NEWS Events Let's go 3G

วันพ่อแห่งชาติ

Search dvm-mag


We have 13 guests online

ไป 3G กันเถอะ

 

เปล่า ไม่ได้ชวนไปซื้อโทรศัพท์ 3G ที่กำลังเป็นของเล่นใหม่ของคนทันสมัยอยู่ในขณะนี้ แต่ 3G ที่จะพูดถึงหมายระบบเชื่อมต่อสัญญาณดิจิทัลแบบ SDI ที่มีความเร็วถึง 3Gigabit ต่างหาก

ทำไมต้องเป็น SDI? ก็เพราะ SDI เป็นการเชื่อมต่อสัญญาณดิจิทัลแบบไม่มีการบีบอัดข้อมูล จึงรับประกันว่าสัญญาณที่รับหรือส่งด้วยระบบนี้จะมีความบกพร่องน้อยที่สุด หรือแทบจะไม่มีเลย

แล้วมีใครใช้บ้างละ? ก็บรรดาผู้ผลิตรายการ สตูดิโอ และสถานีโทรทัศน์ทั้งหลายที่ใช้อุปกรณ์ระดับออกอากาศ จริงจังเรื่องคุณภาพของภาพ และที่เป็นภาคบังคับก็คือเมื่อต้องลากสายสัญญาณยาว ๆ เป็นร้อยเมตรหรือมากกว่า เช่นการตั้งกล้องห่างจากหน่วยบันทึกหรือสวิตเชอร์ มาก ๆ หรือในองค์กรที่ต้องส่งสัญญาณไปยังห้องต่าง ๆ ที่อยู่ห่างกันหลายชั้น หรือแม้แต่ต่างอาคารกัน

ดีกว่าการเชื่อมต่อแบบอื่น ๆ อย่างไร? ทางเลือกของการเชื่อมต่อแบบดิจิทัลมีให้ไม่มากนัก หนึ่งในนั้นก็คือสายไฟร์ไวร์ ซึ่งเหมาะกับการส่งสัญญาณ DV ที่มีอัตราบิตต่ำในระยะทางสั้น ๆ (4.5 เมตร) เท่านั้น หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือผ่านไปทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งทำได้ก็ต่อเมื่อการส่งนั้นเป็นการส่งแฟ้มข้อมูลที่ไม่ต้องการทำงานแบบเวลาจริง ยิ่งไปกว่านั้นอัตราการส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ปกติก็จะต่ำกว่า 3Gigabit มาก สำหรับงานส่วนใหญ่แล้วการส่งทางเครือข่ายจึงไม่สะดวกด้วยประการทั้งปวง ทางเลือกที่ดีที่สุดจึงเหลือทางเดียวนั่นคือ การใช้การเชื่อมแบบ SDI

ทำความรู้จักกับ SDI (อีกที) 
          SDI ย่อมาจากคำว่า Serial digital interface แต่เดิมเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อภาพและเสียงดิจิทัลในระดับความชัดมาตรฐานที่กำหนดโดย SMPT มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า SMPTE 259M รองรับอัตราส่งข้อมูลได้หลายระดับแต่ที่ใช้กันเป็นหลักคือ 270Mbps โดยใช้สายโคแอกเชียลที่มีอิมพิแดนซ์ 75 โอห์มบนหัวต่อแบบ BNC เป็นมาตรฐาน ระยะการเชื่อมต่อสูงสุดของ SMPTE 259M อยู่ที่ 300 เมตร โดยไม่ต้องเสริมตัวทวนสัญญาณเลย
          เมื่อมีการพัฒนาระบบดิจิทัลไปสู่ระดับความชัดสูง SMPTE จึงออกมาตรฐานใหม่เพิ่มเติมเพื่อรองรับความละเอียดนี้ เรียกว่า HD-SDI หรือมาตรฐาน SMPTE-292M โดยเพิ่มอัตราการส่งข้อมูลขึ้นเป็น 1.485Gbps (แต่ระยะการส่งจะสั้นลงเหลือเพีง 100 เมตร) ซึ่งพอเพียงกับงานในระดับความชัดสูงที่ใช้การกราดแบบสอดประสานปกติ หรือ 1080i นั่นเอง
          อย่างไรก็ตาม งานภาพยนตร์ดิจิทัลซึ่งต้องการการแสดงภาพแบบก้าวหน้าหรือ 1080p ต้องการอัตราส่งข้อมูลที่สูงกว่านั้น จึงมีการนำเอา HD-SDI มาต่อแบบ Dual-Link หรือใช้สาย HD-SDI สองเส้นมาขนานกันนั่นเอง SMPTE ได้กำหนดการต่อแบบ dual link ไปเป็นมาตรฐานใหม่ชื่อ SMPTE-372M โดยเพิ่มอัตราข้อมูลขึ้นเป็นสองเท่า คือ 2.97 Gbps
          แต่เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ระบบเชื่อมต่อล่าสุดก็มาถึง นั่นคือ 3G-SDI หรือ SMPTE 424M เพื่อนำมาใช้แทนการต่อแบบ Dual link โดยใช้สายเพียงเส้นเดียวแต่ยังคงอัตราการส่งข้อมูลไว้ที่ 2.97Gbps อยู่เหมือนเดิม
          มาตรฐานล่าสุดนี้สามารถส่งสัญญาณวิดีโอแบบไม่บีบอัดที่รวมเสียงแบบ 48Khz 24 บิตได้ถึง 16 ช่องสเตอริโอ (20 บิตถ้าเป็นระดับความชัดมาตรฐาน) โดยลำเลียงเสียงไปในช่วงสัญญาณมืดทางแนวนอนของสัญญาณโทรทัศน์ที่ไม่ได้ใช้งานเนื่องจากตัวรับสัญญาณจะทำหน้าที่สร้างสัญญาณมืดนี้เองอยู่แล้ว

ฟังดูก็น่าใช้ แต่เริ่มต้นอย่างไร?  แน่นอนท่านต้องจัดหาอุปกรณ์ในห่วงโซ่การผลิตที่รองรับ SDI ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่กล้อง เครื่องเลือกภาพ เครื่องตัดต่อวิดีโอ เครื่องเข้ารหัสสัญญาณ ใช่แล้ว อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นอุปกรณ์ระดับอาชีพหรือระดับออกอากาศที่มีราคาค่อนข้างสูง
          แต่ท่านไม่จำเป็นจะต้องทิ้งอุปกรณ์เดิม หรือซื้อใหม่ทั้งหมด เนื่องจากตอนนี้มีอุปกรณ์แปลงสัญญาณจากสัญญาณแอนะล็อกเดิม ไม่ว่าจะเป็น Composite, S-Video, หรือ Component รวมทั้งระบบดิจิทัลที่ส่งสัญญาณผ่านทาง ช่อง HDMI ไปเป็น SDI, HD-SDI และ 3G-SDI คุณภาพสูงในราคาประหยัด ท่านจะโลดแล่นในโลกของ SDI, HD-SDI, หรือแม้แต่ 3G-SDI ได้อย่างอิสระ แม้อุปกรณ์ที่มีอยู่จะยังไม่สนับสนุนก็ตาม
ตัวอย่างอุปกรณ์แปลงสัญญาณไปสู่ระบบ 3G รวมทั้ง 3D (3 มิติ) ของ Grass Valley

  

                                              G1 : แปลง แอนะล็อก และ HDMI -> SD/HD-SDI (3G)
                                              G2 : แปลง SD/HD-SDI (3G) -> แอนะล็อก และ HDMI
                                              G3 : สร้างภาพ 3D ทาง HDMI จาก SD/HD-SDI 2 ช่อง
                                              G4 : จ่ายสัญญาณซิงค์ให้อุปกรณ์ SDI ทำงานได้พร้อมกัน
 
 
Please register or login to add your comments to this article.