HOME REVIEW US Analog TV Shutdown

EDIUS11

Search dvm-mag


We have 1057 guests online
E-mail

เมื่ออเมริกาประกาศยุติการออกอากาศด้วยสัญญาณแอนะล็อก

          ปฏิบัติการยุติการออกอากาศโทรทัศน์ด้วยสัญญาณแอนะล็อกได้เกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ หนึ่งในนั้นที่สำคัญที่สุดก็คือสหรัฐอเมริกา เราลองมาดูว่า การวางแผนยุติสัญญาณแอนะล็อกพร้อมกันทุกพื้นที่ในอเมริกานั้นมีผลกระทบและเกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร มีอะไรที่ประเทศไทยเราต้องเรียนรู้และตระหนักในความเปลี่ยนแปลงซึ่งเชื่อว่าจะต้องเกิดขึ้นเช่นกันไม่วันใดก็วันหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยังฝันที่จะเป็นผู้นำเทคโนโลยีในภูมิภาคนี้อยู่อีกต่อไป

         สำนักข่าวเอพีรายงานว่า อเมริกาได้วางแผนการยกเลิกการออกอากาศโทรทัศน์ด้วยระบบแอนะล็อกมากว่า 10 ปีแล้ว และพึ่งจะเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง ถึงแม้ว่าจะล่าช้าไปกว่ากำหนดไปถึง 4 เดือนก็ตาม ความล่าช้านี้มาจากความสับสนของผู้ชมและความวุ่นวายที่เกิดขึ้นกับสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไว้แล้ว ไม่มีประเทศใหญ่ ๆ ที่ไหนในโลกที่กล้าทำ หรือวางแผนที่จะทำในการยุติการออกอากาศโทรทัศน์แอนะล็อกพร้อมกันหมดทุกพื้นที่เหมือนที่อเมริกาทำเลย

          ประเทศที่พัฒนาแล้วต่างก็กำลังหาวิธียุติการออกอากาศโทรทัศน์ด้วยสัญญาณแอนะล็อกด้วยเช่นกันทุกประเทศ เพราะจะได้ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดตามมาหลายอย่าง เช่นคุณภาพการรับที่สูงกว่า การปลดปล่อยช่องสัญญาณเพื่อให้บริการอื่น ๆ ได้ใช้งานมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

        แต่ประเทศอื่น ๆ ในโลกมีการระมัดระวังในการก้าวสู่ยุคดิจิทัลมากกว่า เช่น ประเทศออสเตรเลียซึ่งมีพื้นที่ประมาณเท่ากับรัฐเซาต์แคโรไลนา ใช้เวลามากกว่า 7 เดือนในการยุติการใช้สัญญาณแอนะล็อกในปี 2007 โดยการขยายจากพื้นที่หนึ่งสู่พื้นที่หนึ่ง จากตะวันตกสู่ตะวันออก หรือที่ประเทศเยอรมัน ซึ่งเล็กกว่ารัฐมอทานาเล็กน้อย ก็ใช้วิธียุติไปทีละพื้นที่ โดยใช้เวลากว่า 5 ปี เช่นกัน

          ประเทศที่เหมาะกับการยุติสัญญาณแอนะล็อกพร้อมกันหมดแบบที่อเมริกาทำในวันที่ 17 กันยายนนั้น  ต้องดูประเทศที่มีลักษณะคล้ายเนเธอแลนด์เป็นตัวอย่าง ประเทศซึ่งมีพื้นที่ประมาณเท่ากับรัฐแมรีแลนด์และลักเซมเบิร์กเท่านั้น เล็กกว่าโรดไอร์แลนด์เสียอีก ประเทศเหล่านั้นไม่ได้เล็กอย่างเดียว เขายังมีแม่บ้านที่ยังดูโทรทัศน์จากสถานีปกติน้อยมาก นายโอลิเวอร์ พาสกาล จากบริษัทวิจัย แอนะไลซิสเมสัน ประมาณว่า มีชาวดัตช์เพียง 3 หมื่นครอบครัวเท่านั้นที่มีผลกระทบต่อการยุติการออกอากาศแอนะล็อก ที่เหลือจะรับสัญญาณจากเคเบิลและดาวเทียมทั้งสิ้น  ผลงานวิจัยของ MRI พบว่า ชาวอเมริกันถึง 17.7 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่กับบ้านได้โดยอาศัยโทรทัศน์ที่แพร่ภาพทางอากาศเป็นหลัก 

          การยุติการออกอากาศทีละพื้นที่ทำให้ประเทศสามารถเตรียมคนให้บริการและเงินทุนในพื้นที่นั้นได้อย่างพอเพียงก่อนที่จะมุ่งหน้าสู่พื้นที่อื่นต่อไป ในประเทศอังกฤษ มีการวางแผนการเปลี่ยนระบบถึง 5 ปี โดยจะให้สิ้นสุดลงในปี 2012 และจะส่งช่างมาช่วยคุณติดตั้งเครื่องรับดิจิทัลรวมทั้งการติดตั้งเสาอากาศใหม่ถึงที่บ้านด้วยหากคุณพิการหรืออายุเกิน 75 ปีขึ้นไป
** Please Login to read more ...  

 
Please register or login to add your comments to this article.