HOME NEWS Press The Keys to Chromakey

12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ

Search dvm-mag


We have 41 guests online
The Keys to Chromakey PDF Print E-mail
Written by Administrator   
Friday, 26 June 2009 13:52

The Keys to Chromakey

สุชาติ พรหมปัญญา

               ในระยะ 4-5 ปีมานี้ ผมมีโอกาสเข้ามาเกี่ยวข้องกับการถ่ายทำรายการที่ใช้ฉากหลังสีเดียว ที่เรียกกันติดปากว่า การถ่ายบลูสกรีนหรือกรีนสกรีนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นรายการโทรทัศน์ งานแนะนำองค์กร จนถึงสารนิพนธ์ของนักศึกษาต่าง ๆ ประกอบกับทาง DVM ได้เปิดห้องถ่ายเล็ก ๆ เพื่อให้บริการทางด้านนี้อย่างเต็มตัวสำหรับผู้ต้องการความประหยัดจากการทำฉาก ค่าเช่าสถานที่ และไม่ต้องการจำกัดตัวเองกับการถ่ายทำแบบเดิม ๆ
               ตลอดเวลาที่ดูแลอยู่ นอกจากจะได้ลองผิดลองถูก ค้นคว้าจากตำหรับตำรา และการไปดูงานในสถานที่ต่าง ๆ แล้ว ยังได้รับคำแนะนำจากทีมงานมืออาชีพหลายท่านที่แวะเวียนเข้ามาใช้บริการอยู่เสมอ จนสามารถนำเทคนิคและประสบการณ์เหล่านี้ไปถ่ายทอดให้กับน้อง ๆ และนักศึกษาที่ผมสอนอยู่เป็นประจำ
               เพื่อให้เทคนิคการถ่ายวิดีโอโดยวิธีนี้เป็นที่แพร่หลายและสร้างความมั่นใจกับผู้ที่คิดจะนำมาใช้งาน จึงถือโอกาสรวบรวมเทคนิคเหล่านี้มาเป็นเนื้อหาที่ใช้อ้างอิงและนำไปปฏิบัติได้ลงใน DVM ฉบับนี้

โครมาคีย์คืออะไร
               คำว่า “โครมาคีย์” มาจาก chroma key หรือ chromakey หมายถึงการซ้อนภาพแบบใช้กุญแจสี ปัจจุบันได้กลายเป็นศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานไปแล้ว จึงเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษได้เลย หลักการก็คือ การถ่ายภาพโดยใช้ฉากหลังเป็นสีใดสีหนึ่งเพื่อประโยชน์ในการเจาะเปลี่ยนฉากหลังใหม่ที่ไม่สามารถนำมาเข้าเป็นฉากจริงได้ในขณะนั้นด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ตามหลักการแล้ว โครมาคีย์จะใช้สีใด ๆ มาเป็นฉากหลังก็ได้แล้วกำหนดให้เครื่องมือ ซึ่งอาจเป็นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือทั้งสองอย่าง นำสีนั้นมาเป็นกุญแจเพื่อเจาะให้ทะลุออกแล้วนำฉากหลังอื่น ๆ มาซ้อนเป็นฉากหลังใหม่แทน การถ่ายทำแบบโครมาคีย์ จึงมีประโยชน์ด้านความประหยัดที่ไม่ต้องสร้างฉากจริง หรือไม่ต้องเดินทางไปถ่ายทำในสถานที่จริง หรือเป็นสถานที่ที่เข้าถึงได้ยากหรือเข้าถึงไม่ได้ หรือแม้แต่ฉากจำลองที่ทำจากโปรแกรมสามมิติและชีวลักษณ์(animation) ประโยคที่สรุปประโยชน์ของโครมาคีย์ได้ดีที่สุดก็คือ “การสร้างสิ่งที่เป็นไปไม่ได้” นั่นเอง
   

          

               การถ่ายทำแบบโครมาคีย์ มีมานานแล้ว ตัวอย่างภาพยนตร์ในยุคแรก ๆ ที่ใช้เทคนิคนี้เช่น Doctor Who and The Daemons ซึ่งถ่ายทำในปี 1970 แต่เรียกเทคนิคนี้ว่า color separation overlay และที่โด่งดังมากอีกเรื่องหนึ่งก็คือ Superman ที่ออกฉายในปี 1980 อย่างไรก็ตามการทำโครมาคีย์ในยุคนั้นยังอยู่ในวงจำกัด ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและงบประมาณสูง จนเมื่อไม่นานมานี้ ยุคที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้ามามีบทบาทในการผลิตรายการ มีซอฟต์แวร์ที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพ ความยึดหยุ่นในการถ่ายทำมีมากขึ้น ที่สำคัญค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนในการผลิตลดลงมาก วันนี้การทำโครมาคีย์จึงแพร่หลายลงมาในงานโทรทัศน์ รายการทุกรายการ ไม่ว่าจะเป็นข่าว การศึกษา สารคดี และรายการบันเทิงทุกรูปแบบต่างนำการถ่ายทำด้วยโครมาคีย์มาเป็นทางเลือกแทนทั้งสิ้น
** Please Login to read more ...  
Last Updated on Friday, 17 July 2009 15:24
 
Please register or login to add your comments to this article.