HOME Forum

EDIUS11

Search dvm-mag


We have 28 guests online
Welcome, Guest
Please Login or Register.    Lost Password?

ไปดูงาน NAB 2018 ที่เวกัสกัน
(1 viewing) (1) Guest
Go to bottomPage: 1
TOPIC: ไปดูงาน NAB 2018 ที่เวกัสกัน
#274
suchart (User)
Administrator
Posts: 36
graphgraph
User Offline Click here to see the profile of this user
ไปดูงาน NAB 2018 ที่เวกัสกัน 6 Years ago Karma: 0  
ปีนี้ 2018 ได้โอกาสไปชมงาน NABSHOW อีกรอบ งานนี้ถือว่าเป็นงานแสดงอุปกรณ์ผลิตสื่อภาพและเสียง ระบบออกอากาศวิทยุโทรทัศน์-อินเทอร์เน็ต และการประชุมสัมมนา ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เลยถือโอกาสใช้เว็บบอร์ด DVM ที่เพิ่งจะกู้กันขึ้นมาได้ หลังจากที่ล่มไปหลายปีมาอัปเดตข้อมูลข่าวสารกัน ท่านใดสนใจเรื่องอะไร สินค้าหรือเทคโนโลยีตัวไหนเป็นพิเศษ ก็บอกกล่าวกันมาได้นะครับ งานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-12 เมษายนนี้ เรื่องราวต่าง ๆ จะค่อย ๆ อัปเดตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ...

ท่านที่จะโพสต์ข้อความกรุณา ล็อกอิน ก่อนนะครับ ปุ่มล็อกอินจะอยู่ตรงกลางจอสุดขอบด้านบน คลิกแล้วจะมันเลื่อนออกมา กด Login มั่ว ๆ ไปก่อนเลย เพราะมันจะให้ทำอีกรอบหนึ่งตอนใส่ Captcha ตัวหนังสือบิด ๆ เบี้ยว ๆ นั่นแหละ ถ้าดูไม่ชัดก็กดซ้ำไปที่ตัวหนังสือนั้นอีกรอบหนึ่ง มันจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จนกว่าเราจะอ่านได้ชัดเจน หรือจะกดที่นี่เลยก็ได้ http://dvm-mag.com/index.php?option=com_user&view=login สำหรับท่านที่ยังไม่มีบัญชีก็กด Create an account ง่าย ๆ ไม่ถามอะไรมาก หลัก ๆ ต้องการแค่ชื่อและอีเมล์เพื่อ Activate ให้บัญชีใช้ได้เท่านั้น ท่านที่มีบัญชีแล้วลืมพาสเวิร์ด ก็กดตรง Forgot PW มันก็จะส่งอีเมล์ไปให้เราเปลี่ยนพาสเวิร์ดใหม่

อ้อ อีเมล์ที่ส่งไปให้ท่าน Activate บัญชี หรือเปลี่ยนพาสเวิร์ดมักจะลงไปที่ Junk mail ยังไม่มีเวลาแก้เพราะยังพึ่งเมล์เซิร์ฟเวอร์ข้างนอกอยู่ :) หลังจากกดส่งแล้วรอ 5 นาที ถ้าไม่เห็นมีเมล์เข้ามา ไปดูที่ Junk mail ได้เลย อยู่ในนั้นแน่นอน เจอแล้วก็กดลิงค์ทำตามขั้นตอนก็เรียบร้อย
 
Last Edit: 2018/04/08 13:42 By suchart.
The administrator has disabled public write access.
#276
suchart (User)
Administrator
Posts: 36
graphgraph
User Offline Click here to see the profile of this user
Re:ไปดูงาน NAB 2018 ที่เวกัสกัน 6 Years ago Karma: 0  
https://www.nabshow.com/video/nab-show-opening-2

เปิดงานอย่างเป็นทางการ
พิธีกรอาวุโส Calorine Beaslay ตำแหน่ง NAB joint board chair CEO, Beaslay Media Group ได้เชิญ Gordon Smith ในฐานะ President และ CEO ของ National Association Boardcasters (NAB) มาเล่าประวัติ เรื่องราว ความสำคัญ ของการออกอากาศและงาน NAB พร้อมกับเชิญ Greg Walden สมาชิกรัฐสภาอเมริกัน ผู้เติบโต ทำงาน เป็นเจ้าของ คร่ำหวอด และมีบทบาททางด้านสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ มาอย่างยาวนาน มาเป็นแขกสัมภาษณ์พิเศษ
 
The administrator has disabled public write access.
#277
suchart (User)
Administrator
Posts: 36
graphgraph
User Offline Click here to see the profile of this user
6 Years ago Karma: 0  
วันนี้ ขึ้นรถเมล์สาย 108 เข้ามาที่จัดงาน Las Vegas Convention Center ใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที สะดวกสบาย ใช้แอปบนมือถือซื้อตั๋ว ค้นหารถ ออกบัตร (บาร์โค๊ด) เสียอย่างเดียว รถมาไม่ตรงเวลากับที่แอปบอก :( วันหลังจะเขียนบอกวิธีขึ้นรถเมล์ที่เวกัส ง่ายกว่าเมืองไทยเยอะ ใครที่อยากมาผจญภัยที่เวกัสจะได้ทดลองดู

เริ่มจากภาพของบูทสำคัญ ๆ ที่บ้านเรารู้จักกันดีไปพลาง ๆ ก่อน บูทของใครบ้างก็ดูป้ายชื่อในรูปเลย บางรูปอาจติดมามากกว่าหนึ่งบูท ยังไม่มีคอมเมนต์ใด ๆ นอกจาก อยากจะบอกว่า แนวโน้มระบบ 4K HDR จะเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของการแพร่ภาพออกอากาศ สื่อสายธาร รวมทั้งสื่อบรรจุกล่องทั้งหลาย ใครที่ยังไม่พร้อมต้องรีบเตรียมตัว ทั้งเครื่องไม้เครื่องมือ ซอฟต์แวร์ และบุคคลากร





































 
Last Edit: 2018/04/12 22:36 By admin.
The administrator has disabled public write access.
#278
suchart (User)
Administrator
Posts: 36
graphgraph
User Offline Click here to see the profile of this user
Re:ไปดูงาน NAB 2018 ที่เวกัสกัน 6 Years ago Karma: 0  
สโลแกนของ NAB 2018 คือ The M.E.T Effect หมายถึง ความมีผลกระทบต่อวงการสื่อ อุตสหกรรมบันเทิง และอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทั้งหลาย ทีแรกตั้งใจว่า จะรายงานวันต่อวัน แต่เอาเข้าจริงทำไม่ได้ แต่ละเรื่องมันมีเนื้อหาต้องใช้เวลา ที่สำคัญอาการหลงเวลาและความอ่อนล้าจากการเดินวันละหลาย ๆ กิโล ทำให้ต้องมาตั้งหลักกันใหม่ แล้วจะนำมาเล่าสู่กันเป็นเรื่อง ๆ ไป

จากที่เกริ่นไว้ว่าแนวโน้ม 4K HDR จะกลายเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของสื่อโทรทัศน์ทั้งหลาย ข้อความนี้ไม่ได้พูดกันขึ้นมาลอย ๆ สิ่งที่ยืนยันและได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง เห็นได้จากไปทางไหนในงานก็จะเจอคำว่า ATSC 3.0 ซึ่งหมายถึงมาตรฐานของโทรทัศน์ในอนาคตที่คณะกรรมการระบบโทรทัศน์รุ่นก้าวหน้า หรือ ATSC ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลมาตรฐานของระบบโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้กำหนดขึ้นด้วยความร่วมมือจากบริษัทที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ATSC เคยมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์จากแอนะล็อกไปสู่ดิจิทัลเมื่อประมาณสิบปีที่ผ่านมา ครั้งนี้ก็เช่นกัน ATSC ได้เล็งเห็นความหลากหลายของสื่อโทรทัศน์ที่ขยายออกไปในหลาย ๆ ช่องทาง นอกจากการแพร่ภาพกระจายเสียงทางภาคพื้นดินตามปกติแล้ว ยังมีช่องทางการแพร่ภาพผ่านทางดาวเทียม ทางสายเบิล เครือข่าย IP และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งบนโซเชียลเน็ตเวิร์กและบนอุปกรณ์โมบายทั้งหลาย ATSC จึงพยายามบูรณาการสิ่งต่าง ๆ หล่านี้เข้าด้วยกันและกำหนดให้เป็นมาตรฐานใหม่ภายใต้ชื่อ ATSC 3.0 หรือ Future of Television นั่นเอง

ATSC 3.0 ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ มีการนำมาตรฐานต่าง ๆ กว่า 20 แบบมาผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้ครอบคลุมระบบในลักษณะต่าง ๆ รายละเอียดของ ATSC 3.0 จึงมีมากกว่าหนึ่งพันหน้า และแน่นอนที่สุด 4K HDR อยู่ในส่วนของการเข้ารหัสวิดีโอประสิทธิภาพสูง (HEVC) ที่แสดงภาพในระดับ 120 กรอบภาพต่อวินาทีได้ ความสามารถในการแสดงสี Wide Color Gamut (Rec.2020) พร้อมระบบเสียง Dolby AC-4 และ MPEG-H 3D สนับสนุนการใช้งานแบบโมบายทีวีได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
 
Last Edit: 2018/04/19 08:54 By suchart.
The administrator has disabled public write access.
#279
suchart (User)
Administrator
Posts: 36
graphgraph
User Offline Click here to see the profile of this user
Re:ไปดูงาน NAB 2018 ที่เวกัสกัน 5 Years, 10 Months ago Karma: 0  
หนึ่งในจุดเด่นของงานนี้ก็คือเรื่องของ HDR ซึ่งง่าย ๆ หมายถึงภาพที่มีความเปรียบต่างสูงนั้นเอง
ความจริงเรารู้จัก ได้ยินเรื่องราวของ HDR บนภาพถ่ายมานานมากแล้ว แต่ HDR ในงาน NAB 2018 นี้หมายถึง HDR TV ซึงก็คือ HDR บนระบบโทรทัศน์เป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจาก HDR บนภาพถ่ายอย่างสิ้นเชิง

HDR บนภาพถ่าย เป็นอย่างไร
การสร้างภาพ HDR บนภาพถ่าย ใช้แก้ปัญหาเซนเซอร์ของกล้องถ่ายภาพที่รับแสงได้ในช่วงที่จำกัด ในสภาพแสงที่แตกต่างกัน เราต้องปรับการรับแสงให้เหมาะสมเสมอ เช่นถ้าต้องการถ่ายภาพในที่ที่มีแสงจ้า ก็ต้องปรับการรับแสงให้น้อยลงเพื่อให้แสงพอดีกับความสามารถของเซนเซอร์นั้น กรณีที่ภาพมีทั้งส่วนมืดมากกับสว่างมาก เราจะต้องเลือกปรับการรับแสงแบบใดแบบหนึ่ง ทำให้ภาพในส่วนที่มีแสงอีกแบบหนึ่งไม่พอดี อาจจะมืดหรือสว่างเกินไปจนมองไม่เห็นรายละเอียด HDR ในภาพถ่ายจะใช้วิธีถ่ายภาพด้วยการเปิดรับแสงให้แตกต่างกันหลายครั้ง แล้วนำส่วนที่ดี เห็นรายละเอียชัดของแต่ละแบบมาประกอบกัน เราจึงมองเห็นรายละเอียดของภาพในทุกช่วงแสง หรือได้กว้างขึ้น แต่สิ่งที่ต้องระลึกคือ HDR บนภาพถ่าย ไม่มีส่วนที่จะไปเพิ่มช่วงไดนามิกของภาพให้มากขึ้น ไม่มีการกำหนดวิธีการส่งภาพออกไป ไม่มีแม้วิธีการที่จะสร้างภาพนั้นบนจอหรือบนกระดาษด้วยซ้ำ

ส่วน HDR TV ไม่ได้พยายามเอาชนะขีดจำกัดของเซนเซอร์เหมือนกับทางภาพถ่าย เพราะกล้องวิดีโอมืออาชีพรุ่นใหม่ ๆ จะมีช่วงไดนามิกที่กว้างกว่าข้อกำหนดของไดนามิกมาตรฐาน (SDR) ที่ 6 stops อยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะไปถึง 14 Stops ด้วยซ้ำ แต่ช่วงไดนามิกนี้จะรักษาไว้ไม่ได้ แม้แต่ภาพยนตร์ที่ตั้งใจปรับแต่งเพื่อนำเสนอแบบ HDR โดยเฉพาะ เมื่อนำมาแสดงยังเหลือเพียง 8-10 Stops เท่านั้น ไม่เพียงแค่นั้น HDR ไม่ได้ตั้งใจแก้ปัญหาเรื่องข้อจำกัดของการเล่นกลับด้วย เพราะโทรทัศน์รุ่นใหม่ ๆ สามารถให้ความสว่างได้มากกว่า 100 นิต ตามมาตรฐาน BT.709 HDTV เช่นกัน แม้ช่วงก่อนที่จะมีการผลักดัน HDR โทรทัศน์ที่ใช้แสงส่องหลังแบบ LED ก็สามารถให้ความสว่างได้มากกว่า 400 นิต อาจพูดได้ว่า ระบบแสดงผลสามารถให้ช่วงไดนามิกได้สูงกว่าระบบการเผยแพร่ภาพทั้งหลายจะรับมือได้ด้วยซ้ำ แนวโน้มที่โทรทัศน์ตามบ้านจะให้ความสว่างระดับ 1000-1500 นิต หรือมากกว่ามีความเป็นไปได้ในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เรามีระบบจอภาพโทรทัศน์ที่ดีก่อนที่ HDR TV จะเกิดเสียอีก เพียงแต่เราไม่สามารถใช้ศักยภาพของจอภาพเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ต่างหาก ปัญหาที่แท้จริงในการก้าวสู่ HDR TV นั้นมาจาก การกำหนดรายละเอียด และการทำงานระหว่างกลางของการทำต้นฉบับ การเข้ารหัส และ วิธีการส่งภาพเหล่านั้นไปยังจอภาพต่างหาก

ระบบ HDR จะเกิดได้ต้องมีมาตรฐานรองรับ ตั้งแต่การผลิตเนื้อหา การบรรทุก การส่งมอบ และการแสดงผล ถ้าต่างคนต่างทำ ไม่เกี่ยวข้องกัน เข้ากันไม่ได้ HDR ก็เกิดยาก มีหน่วยงานมากมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรฐานเหล่านี้ เช่น SMPTE, ITU, CTA, BDA และ UHD Alliance เป็นต้น

ผลของการวางมาตรการต่าง ๆ ทำให้ HDRTV จะเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้
- ความละเอียดของเนื้อหาและระบบโทรทัศน์ ต้องเป็น UHD หรือ 3840x2016 จุด ขึ้นไป
- ค่าความสว่างของจอ หรือให้ถูกต้องคือ อัตราส่วนความเปรียบต่าง เช่น 10000:1
- ขอบเขตสี ต้องเป็นแบบกว้าง หรือ Wide Color Gamut กำหนดให้รองรับ ITU-R Rec. BT.2020
- จำนวนบิตที่ใช้แสดงผล ต้อง 10 บิตต่อช่องขึ้นไป
- EOTF หรือเส้นโค้งฟังชันถ่ายโอน เรียกง่าย ๆ ว่าระบบอะไร เช่น HDR10, Dolby Vision หรือ HLG เป็นต้น

มีโอกาสจะค่อย ๆ ลงรายละเอียดแต่ละเรื่องต่อไป
 
Last Edit: 2018/06/22 13:38 By suchart.
The administrator has disabled public write access.
#280
suchart (User)
Administrator
Posts: 36
graphgraph
User Offline Click here to see the profile of this user
Re:ไปดูงาน NAB 2018 ที่เวกัสกัน 5 Years, 9 Months ago Karma: 0  
แวบไปดูเรื่องโปรแกรมตัดต่อวิดีโอกันบ้าง ปีนี้โปรแกรมตัดต่อไม่คึกคักเหมือนแต่ก่อน อาจจะเนื่องมาจากความอิ่มตัว ฟังก์ชันที่จำเป็นของทุกค่ายมีให้ใช้งานได้เหมือนกันหมด หลายค่ายเริ่มออกนอกแนวเอาส่วนของการทำเอฟเฟ็กต์มาเสริม ที่ยังคงเส้นคงวาก็คงเป็น Avid นำหนังซีรีย์ Stanger Things ใน Netflix มาตัดต่อโชว์ด้วย Media Composer อยู่ประตูทางเข้าชั้น 2 ของฮอลล์ใต้เลย มีผู้คนให้ความสนใจอย่างเนืองแน่นทุกรอบ รุกหนักอีกเจ้าหนึ่งก็คือ BlackMagic นำ Resolve 15 มาเปิดตัวในงานด้วยการผนวกเอา Fusion เอฟเฟ็กต์สำหรับงานภาพยตร์ที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องมารวมอยู่ในเวอร์ชันนี้ BlackMagic ทุ่มเทอย่างหนักในการโปรโมต Resolve มีการจัดพื้นที่นำเสนอในบูตจุคนได้หลายร้อยที่นั่ง ให้ฟังการบรรยายหมุนเวียนกันตลอด 4 วัน แถมมีห้องพิเศษสำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับ Resolve อยู่แล้วเพื่อเจาะข้อมูลกับเทรนเนอร์อย่างละเอียดตลอดทั้งวันทุกวันเช่นกัน ส่วน Grass Valley เจ้าเก่าที่ยังยึดมั่นกับแนวคิด เรียลไทม์ทุกฟอร์แมต นำ EDIUS 9.2 ที่เสริมเขี้ยวเล็บเรื่อง HDR และ Color correction มานำเสนอเพียงโต๊ะตัวเล็ก ๆ ในบูตเท่านั้น อาจจะด้วยความมั่นใจว่า ในโลกแห่งการตัดต่อถ้าต้องการความเร็วแบบลื่นติดมือแบบไม่เกี่ยงฟอร์แมต ไม่มีใครมาต่อกรได้นั่นเอง



Avid กับ Media Composer ตัวเก่ง



Blackmagic รุกหนักด้วย Davinci Resolve 15




Grass Valley ยังคงตอกย้ำกับแนวคิด เร็วลื่นติดมือทุกฟอร์แมต
 
Last Edit: 2018/07/25 06:02 By suchart.
The administrator has disabled public write access.
Go to topPage: 1