HOME Forum

EDIUS11

Search dvm-mag


We have 35 guests online
Welcome, Guest
Please Login or Register.    Lost Password?

มีอะไรใหม่ใน EDIUS 9
(1 viewing) (1) Guest
Go to bottomPage: 1
TOPIC: มีอะไรใหม่ใน EDIUS 9
#281
suchart (User)
Administrator
Posts: 36
graphgraph
User Offline Click here to see the profile of this user
มีอะไรใหม่ใน EDIUS 9 5 Years, 9 Months ago Karma: 0  
Edius Pro 9/Workgroup 9 ออกมาได้กว่าครึ่งปี ตอนนี้ก็มีการปรับไปเป็น 9.2 แล้ว ซึ่งก็มีการเพิ่มความสามารถและแก้ไขข้อบกพร่องไปจนเกือบหมด ท่านที่ยังกล้า ๆ กลัว ๆ กับความไม่เสถียรเมื่อมีการเปลี่ยนเวอร์ชันใหม่ ๆ ก็วางใจได้ วันนี้จึงถือโอกาสนำเอาสิ่งใหม่ ๆ ในเวอร์ชันนี้มาสรุปให้ท่านที่ยังคงใช้งานเวอร์ชัน 8 หรือต่ำกว่ามาให้ได้ทราบกันอีกครั้ง

สิ่งที่เพิ่มเข้ามาใหม่ในเวอร์ชัน 9 ที่ชัดเจนที่สุดก็คือ การสนับสนุนการทำงานในรูปแบบ HDR ที่กำลังมีบทบาทสำคัญในวงการโทรทัศน์ดิจิทัลขณะนี้
HDR เป็นอย่างไร ได้เกริ่นไว้บ้างแล้วเมื่อครั้งพาไปดูงาน NAB2018 สรุปอีกครั้งก็คือ การดำเนินการกับภาพที่มีไดนามิกส์หรือความเปรียบต่างสูง หมายถึงภาพที่ให้รายละเอียดได้ดีทั้งในส่วนเงาและส่วนจ้า ซึ่งปกติจะทำไม่ได้ เช่นการถ่ายภาพย้อนแสง ถ้าให้แสงที่วัตถุพอดีฉากหลังจะสว่างจ้าขาดรายละเอียด หรือถ้าให้แสงฉากหลังพอดีตัววัตถุก็จะมึดทึบขาดรายละเอียดอีกเหมือนกัน HDR บนภาพนิ่งจึงใช้วิธีถ่ายภาพหลายครั้ง โดยแต่ละครั้งจะเปิดรับแสงแตกต่างกันแล้วนำภาพเหล่านั้นมาผสมกัน ภาพที่ได้จึงมีรายละเอียดครอบคลุมย่านแสงต่าง ๆ มากขึ้น แต่นั่นคือ HDR ในแบบภาพนิ่ง Edius 9 สนับสนุนการทำงาน HDR ในแบบ Video ที่จับภาพมาเป็นมาแบบไดนามิกสูงซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบ HDR หรือ Log ก็ได้ เมื่อนำมาตัดต่อด้วย EDIUS 9 แล้วส่งงานไปแสดงบนจอภาพรุ่นใหม่ที่สนับสนุน HDR ไดนามิกของภาพนั้นจะยังคงเดิมหรือใกล้เคียงกับของเดิม ผลพวงที่ตามมากับ HDR เป็นภาคบังคับก็คือ ทำให้ EDIUS 9 ทำงานกับภาพความละเอียดสูง (4K) ได้ รองรับพื้นที่สีแบบใหม่ (REC.2020) ใช้จำนวนบิตต่อช่องมากขึ้น (10 Bit) รวมทั้งความสามารถในการแปลงพื้นที่สีและตารางสีแบบต่าง ๆ และแน่นอนต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่นิยมใช้ในปัจจุบันด้วย (PQ/HLG) หากจะแยกย่อยฟีเจอร์ต่าง ๆ ของ EDIUS 9 เป็นข้อ ๆ ก็จะได้ดังนี้

- ครอบคลุมขั้นตอนการทำงานแบบ HDR
- สนับสนุนมาตรฐาน HDR แบบ PQ และ HLG
- สนับสนุนวิดีโอ HDR จากต้นกำเหนิดเดิม (กล้องมืออาชีพ, โดรน, โทรศัพท์มือถือ)
- แปลงภาพรูปแบบ SDR และ Log ไปเป็น HDR
- ผสมภาพ SDR และ HDR บนไทม์ไลน์เดียวกัน
- การพรีวิวบนจอภาพ HDR แบบเรียลไทม์ ขณะตัดต่อ
- ส่งออกไฟล์ HDR สำหรับโทรทัศน์ HDR LCDTVs และส่งขึ้น YouTube
- ส่งออกไฟล์ HDR files ในรูปแบบ XAVC ดั้งเดิม
- สนับสนุน พื้นที่สีแบ BT.2020 และ BT.2100
- ส่งออกไฟล์ H.264 แบบ 10bit และ 4:2:2
- สนับสนุนรูปแบบ Cinema Raw Light ของกล้อง Canon C200
- สนับสนุนรูปแบบ Cinema DNG แบบ 10bit ดั้งเดิม
- ทำงานเร็วขึ้นทั้งตอนเริ่มโปรแกรมและตอนทำงานจริง
- ปรับปรุงส่วนเชื่อมต่อกับผู้ใช้ (จากคำติชมของผู้ใช้)
- ทำซอฟต์แวร์จัดการสือ Mync ให้ทันสมัยขึ้น
- เพิ่มการวิเคราะห์ข้อมูลเมต้าให้ดีขึ้น รวมทั้งฟังก์ชันการค้นหา ฟังก์ชันการตัดต่อสตอรีบอร์ด
- ปรับปรุงการทำงานกับไฟล์ที่เป็น offline
- ทำงานได้บนระบบเคลาด์

ฟีเจอร์ของ EDIUS 9 ยังไม่จบแค่นี้ แต่จะมีเสริมมาเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องจ่ายเพิ่ม นอกจากนั้นยังจะให้มีใบอนุญาตแบบลอย (floating license) คือเพิ่มสิทธิ์การใช้งานได้ตามความจำเป็น สำหรับรุ่นที่เป็น Workgroup จะสนับสนุนการส่งออกแบบ 4K 50/60p ทางฮาร์ดแวร์

การปรับปรุง EDIUS 9 ที่อยู่ในแผนงานแล้วเช่น ฟังก์ชันการพร้อมสัมพันธ์คลิปต่าง ๆ โดยใช้เสียงที่สอดคล้องกันจากคลิปเหล่านั้น การสนับสนุนภาพความละเอียด 8K อัตราการแสดงภาพสูง และการส่งออกเป็นไฟล์ในรูปแบบ H.265
ส่ำหรับแผนปรับปรุงเวอร์ชัน Workgroup ก็มีการควบรวมฟีเจอร์การทำซับไทเทิล การเรนเดอร์ในฉากหลัง เป็นต้น

** เกือบลืม EDIUS 9 เปิดโอกาสให้นำโปรแกรมสร้างไทเทิล Titiler Pro 5 มาเป็นปลักอินเสริมได้ฟรีอย่างถาวร เดิม EDIUS รุ่นก่อน ๆ เคยแถมโปรแรกมทำไทเทิลชื่อคล้าย ๆ กัน คือ Inscriber TitleMotion แล้วก็หายไปเมื่อ Grass Valley พัฒนาโปรแกรมสร้างไทเทิลเองแล้วแถมไปกับ EDIUS ตั้งแต่เวอร์ชัน 6 เป็นต้นมา โดยใช้ชื่อว่า QuickTitle ซึ่งทำงานเข้ากับ EDIUS ได้เป็นอย่างดี การทำงานรวดเร็ว ไม่มีปัญหาเรื่องภาษาไทย ใส่เอฟเฟ็กต์ให้กับไทเทิลเมื่อวางลงในแทร็กไทเทิลได้ทันที อย่างไรก็ตาม QuickTitle ยังเทียบความสามารถกับโปรแกรมไทเทิลจากผู้ผลิตอื่นไม่ได้ ผู้ใช้ที่ไม่ต้องการสร้างไทเทิลที่ซับซ้อนบนซอฟต์แวร์ตัวอื่นยังคงเรียกร้องให้ Grass Valley หาทางออกที่ดีกว่าให้ จนในที่สุดเมื่อบริษัท NewBluFx ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ทำเอฟเฟ็กต์ภาพยนตร์จากอเมริกาที่พัฒนาโปรแกรมและปลักอินให้กับบริษัทต่าง ๆ รวมทั้ง Grass Valley ด้วย ได้อัปเกรดโปรแกรมสร้างไทเทิลของตนไปเป็น Titler Pro 6 ทาง Grass Valley จึงได้ขอซื้อ Titler Pro 5 มาเป็นปลักอินโบนัสให้กับ EDIUS 9 ฟรีอย่างถาวร อย่างไรก็ตาม Titler Pro 5 นี้ ไม่ได้เปิดให้ดาวน์โหลดทั่วไป ผู้ใช้ต้องเข้าไปลงทะเบียนและขอหมายเลขประจำตัว EDIUS ก่อน จึงจะพบลิงค์ที่ให้ดาวน์โหลดได้ หลายท่านที่ไม่ได้ติดตั้ง EDIUS 9 ด้วยตนเอง ไม่มี EDIUS ID ก็อาจจะไม่เคยรู้จักของแถมดี ๆ ตัวนี้ก็เป็นได้
 
Last Edit: 2018/07/30 12:28 By suchart.
The administrator has disabled public write access.
#282
suchart (User)
Administrator
Posts: 36
graphgraph
User Offline Click here to see the profile of this user
Re:มีอะไรใหม่ใน EDIUS 9 5 Years, 9 Months ago Karma: 0  
อัปเกรดสู่ EDIUS 9.20

ก่อนงาน NAB2018 เล็กน้อย Grass Valley ได้อัปเกรด EDIUS 9.10 ไปเป็น 9.20 ที่มีฟีเจอร์ใหม่เพิ่มเติม พร้อมกับการแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ให้ดีขึ้น
ทางทีมงานเราก็ได้นำเวอร์ชันนี้มาทดสอบแทบจะทันที แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก จนเมื่อคราวไปเยือนงาน NAB2018 ที่นครลาส เวกัส จึงมีโอกาสเสวนากับทางเทรนเนอร์อย่างจริงจัง พบว่า 9.20 มีอะไรที่น่าใช้และเพิ่มความสะดวกขึ้นมาอีกหลายอย่างทีเดียว ตัวอย่างเช่นการปรับจอ Scope/Waveform ได้หลายแบบ ซึ่งก็ดูดีขึ้น สวยงาม แต่ก็ยังไม่ค่อยเห็นประโยชน์สักเท่าไหร่ ต่อเมื่อทางเทรนเนอร์แสดงวิธีการประยุกต์ใช้ให้ดู จึงรู้ว่า ต่อไปจะขาดมันไม่ได้เสียแล้ว ครับ เนื่องจากกระทู้นี้เขียนเพื่อบอกข่าวให้รู้ ไม่ได้สอนหรือแนะนำวิธีการใช้งาน จึงไม่ได้ลงรายละเอียด ท่านที่ได้อัปเกรดไปเป็น 9.20 แล้ว ลองค้นหาวิธีนำมันมาใช้ประโยชน์ไปก่อน หรือไม่ก็เข้าไปดูในเว็บ https://www.edius.net/ หรือค้นหาการแนะนำใน Youtube ซึ่งมีผู้รู้ทำเป็นวิดีโอแนะนำกันมากมาย ไม่เพียงแต่แค่เรื่อง Scope นี้เท่านั่น ทุกเรื่องที่อยู่ในรายการฟีเจอร์ใหม่ที่ดูแล้วเฉย ๆ ไม่น่าจะมีอะไรน่าสนใจ ถ้าเข้าไปดูรายละเอียด หรือได้ใช้งานมันอย่างจริงจรัง จะเข้าใจว่า ทำไมเขาถึงต้องขยับเวอร์ชันจาก 9.10 ไปเป็น 9.20 เลยทีเดียว

สรุปคุณสมบัติใหม่ในเวอร์ชัน 9.20_3340 (เพิ่มจาก 9.10_3086) มีดังนี้

โปรแกรม EDIUS

  • สนับสนุน พื้นที่สีแบบ Log ของ ALEXA C series ในส่วนของ Primary Color Correction

  • สนับสนุน การแก้ไขรายการพื้นที่สี ให้เลือกมาเฉพาะที่จำเป็น

  • สนับสนุน การนำเข้าคลิป MXF ของ Apple ProRes

  • สนับสนุน พื้นที่สีแบบ D-Log ฃอง DJI ใน Primary Color Correction

  • สนับสนุน แกมมาชนิดต่าง ๆ สำหรับคลิปของ Canon XF-AVC (PQ-OOTF On/Off, Hybrid Log Gamma)

  • สนับสนุน คลิปดิบ จาก Sony ที่บันทึกจากกล้อง VENICE

  • สนับสนุน การควบคุมโหมดสี บนจอมอนิเตอร์ของ EIZO (เฉพาะ EDIUS Workgroup)

  • การปรับจอ Vectorscope/waveform ให้เข้ากับการทำงาน HDR ได้สะดวกขึ้น

  • สนับสนุน ฮาร์ดแวร์ในอนุกรม Matrox MXO2 และ Mojito MAX


  • โปรแกรม Mync
  • สนับสนุน การส่งออกสตอรีบอร์ดไปเป็นคลิป H.265 (HEVC) กรณีใช้ชิป Intel® Core i ยุคที่ 6 ขึ้นไป ที่สนับสนุน Quick Sync Video

  • สนับสนุน การจัดลำดับคลิป HDR ในสตอรีบอร์ด

  • สนับสนุน การใช้ GPU ถอดรหัส คลิปดิบของ Sony และ Canon Cinema

  • สนับสนุน การค้นหาพื้นที่สีใน ไลบรารีและในสตอรีบอร์ด

  • สนับสนุน การตั้งความละเอียดของจอแตกต่างกัน กรณีที่ใช้จอแสดงผลบน Windows หลาย ๆ จอ
  •  
    Last Edit: 2018/07/26 15:07 By suchart.
    The administrator has disabled public write access.
    Go to topPage: 1