HOME Forum

EDIUS11

Search dvm-mag


We have 29 guests online
Welcome, Guest
Please Login or Register.    Lost Password?

EDIUS Workgroup 9 ต่างกับ EDIUS Pro 9 อย่างไร
(1 viewing) (1) Guest
Go to bottomPage: 1
TOPIC: EDIUS Workgroup 9 ต่างกับ EDIUS Pro 9 อย่างไร
#287
suchart (User)
Administrator
Posts: 36
graphgraph
User Offline Click here to see the profile of this user
EDIUS Workgroup 9 ต่างกับ EDIUS Pro 9 อย่างไร 5 Years, 7 Months ago Karma: 0  



ถามกันมาหลายครั้ง ก็ตอบไปตามตารางเปรียบเทียบที่ผู้ผลิตให้มา แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ชัดเจนสักที ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะ EDIUS Workgroup ออกแบบสำหรับงานระดับอาชีพ ทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อนของ Grass Valley ได้ หากเราไม่คุ้นชินกับผลิตภัณฑ์เหล่านั้นก็คงจะนึกภาพได้ลำบาก เพื่อไม่ให้สับสนเกินไปเราจะมาขยายความเฉพาะการทำงานด้วยตัวมันเองเท่านั้น ส่วนความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น อุปกรณ์อื่น บนเครือข่าย เอาแค่ให้รู้ว่ามีอะไรบ้างก็พอ


ตารางเปรียบเทียบฟังก์ชันของ EDIUS Pro 9 กับ EDIUS Workgroup 9


สิ่งที่ EDIUS Workgroup 9 สนับสนุนแต่ไม่มีใน EDIUS Pro 9 ที่สำคัญมีดังนี้

  • สนับสนุนการส่งออกไฟล์แบบ MXF
  • MXF เป็นรูปแบบมาตรฐานในการโอนย้ายและแลกเปลี่ยนไฟล์สื่อระหว่างแพลตฟอร์มต่าง ๆ สถานีโทรทัศน์บางแห่งจะรับงานออกอากาศในรูปแบบ MXF เท่านั้น ผู้ที่ต้องทำงานส่งสถานีดังกล่าวจึงควรใช้รุ่น Workgroup เป็นหลัก มิฉะนั้นจะต้องหาซอฟต์แวร์สำหรับแปลงไฟล์เพิ่มเติม ที่จริง EDIUS Pro ยังคงส่งออกแบบ MXF ได้ แต่เป็น MXF ที่มาทั้งโครงสร้างโฟลเดอร์สำหรับอุปกรณ์ หรือบันทึกตรงบนที่เก็บข้อมูลของอุปกรณ์ โดยมีไฟล์ XML กำกับไว้เสมอ เช่น XAVC (XDCAM Drive), XDCAM (Memory card), และ P2 (P2 card) ส่วน MXF แบบทั่วไป (Generic) ที่ส่งออกเป็นคลิปเดี่ยว จะส่งออกได้เฉพาะบน Workgroup เท่านั้น

  • สนับสนุนการทำงานกับไฟล์ DNxHD
  • DNxHD (Digital Nonlinear Extensible High Definition) คือวิธีการเข้ารหัสที่พัฒนาโดย AVID เพื่อใช้งานบนระบบของตนในรูปแบบของไฟล์ MXF และ MOV ต่อมาได้รับการยอมรับในงานระดับออกอากาศ มีการนำไปใช้กับกล้อง เครื่องบันทึก โปรแกรมตัดต่อและทำเอฟเฟ็กต์หลายรุ่น ท่านที่ต้องทำงานร่วมกับระบบของ AVID จึงได้รับความสะดวกมากกว่าเมื่อใชั EDIUS Workgroup อย่างไรก็ตาม EDIUS Pro ก็สามารถใช้งาน DNxHD ได้ แต่เป็นทางเลือกให้ซื้อเพิ่มเติม

  • สนับสนุนโหมดการขอดูภาพแบบหยาบ
  • สำหรับงานที่ใช้ไฟล์แบบ Raw, Uncompressed, ความละเอียดสูง (4K/8K), การบีบอัดที่ซับซ้อน หรือมีอัตราข้อมูลสูงมาก ระบบที่ใช้งานอยู่อาจมีกำลังไม่พอที่จะเปิดไฟล์เหล่านี้ได้อย่างราบรื่น EDIUS Workgroup มีโหมด การขอดูภาพแบบหยาบ (Draft Preview Mode) หรือแบบลดความคมชัด ปรับได้ตั้งแต่แบบชัดเต็มจนถึง 1/16 เท่าตามความเหมาะสมเพื่อให้การเปิดเล่นภาพไม่ติดขัด อย่างไรก็ตามความคมชัดนี้จะกลับมาชัดเต็มเหมือนเดิมขณะหยุดภาพ

  • ไม่ต้องต่ออินเทอร์เน็ตทุกเดือน
  • EDIUS Pro ต้องต่ออินเทอร์เน็ตอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งเพื่อตรวจสอบลิขสิทธิ์ สำหรับหน่วยงานที่เข้มงวดและไม่อนุญาตให้ระบบต่ออินเทอร์เน็ตโดยไม่จำเป็น การเลือกใช้ Workgroup จึงสะดวกมากกว่า

  • มีเครื่องวัดความดัง
  • เครื่องวัดความดัง (Loudness Meter) ต่างจาก VU มิเตอร์ที่มันสามารถบันทึกหรือพล็อตกราฟความดังของซีเควนซ์หรือของคลิปได้ตลอดความยาว เราจึงปรับเสียงแต่ละช่วงได้อย่างเหมาะสม หรือจะให้โปรแกรมปรับให้แบบอัตโนมัติ (Loudness auto adjust/Normalize) ก็ได้ วิธีการวัดใช้มาตรฐานของ EBU R128 หรือ ITU-R BS.1770-2 การใช้เครื่องวัดความดังจะลดอิทธิพลของห้อง ลำโพง และเครื่องขยายเสียงลง ระดับเสียงของงานจะใกล้เคียงกัน ผู้ฟังไม่จำเป็นต้องปรับโวลุ่มทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนรายการใหม่ เครื่องวัดความดังนี้เคยให้มาตั้งแต่ EDIUS 6.5 แต่ถูกตัดออกเมื่อเปลี่ยนมาเป็น EDIUS Pro 8 แต่ยังคงไว้เหมือนเดิมใน Workgroup

  • สนับสนุน Watch folder
  • Watch Folder หมายถึงโฟลเดอร์ที่จะส่งไฟล์ให้ไปปรากฏในบิน (Bin) โดยอัตโนมัติ กำหนดจากเมนู Tools ได้สูงสุด 10 โฟลเดอร์ สามารถกำหนดชนิดของไฟล์ เงื่อนไขการเฝ้าดู เมื่อสั่งทำงานจะปรากฏเป็นไอคอนใน Task Tray ของ Windows (เครื่องหมายหมวก '^' ใกล้ ๆ ลำโพง) ซึ่งเราสามารถสั่งให้หยุด หรือดูรายการไฟล์ต่าง ๆ ที่เพิ่มเข้ามาได้

  • สนับสนุน Audio Monitoring
  • เป็นวิธีตรวจความมีอยู่ของเสียงในคลิปหรือซีเควนซ์ที่เปิดเล่นบนจอ Player หรือ Recorder (Timeline) ซึ่งแต่ละแบบจะมีการตั้งค่าแยกจากกัน (คลิกเลือกจอก่อน แล้วจึงเลือก Audio Monitoring Mode ของจอนั้นในเมนู View) ว่าจะเลือกฟังเสียงแบบโมโน สเตอริโอ หรือตั้งช่องเสียง (Audio Channel Map) เอาเอง เมื่อใช้โหมดนี้จะไม่นำการตั้งช่องเสียงที่กำหนดให้กับซีเควนซ์หรือโปรเจ็กต์มาใช้งาน

  • Audio bit Pass Through
  • ในกรณีที่เสียงในคลิปเป็นแบบ AC3 หรือ Dolby-E เราสามารถตั้งช่องเสียงของโปรเจ็กต์ให้ผ่านเสียงไปยังเอาต์พุตได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงมัน

  • Ancillary Data Pass Through
  • ข้อมูลคำบรรยาย (Caption) สามารถตั้งให้ถอดออก (Remove) หรือให้ปล่อยผ่าน (Pass-through)ได้ หรือให้แสดงออกตอน Play ได้เมื่อทำงานร่วมกับการ์ด Storm 3G/3G Elite

  • Pre-roll Editing
  • โหมดการตัดต่อที่สามารถทดลองเปิดคลิปจาก Player มาต่อกับคลิปบนไทม์ไลน์ได้ หากไม่มี Pre-roll Editing เราจะต้องวางคลิปนั้นลงไปบนไทม์ไลน์จริง ๆ แบบใดแบบหนึ่งก่อน แต่ด้วยโหมดนี้ เราแค่กำหนดตำแหน่ง In/Out คลิปที่อยู่ใน Player และกำหนดตำแหน่ง In บนไทม์ไลน์ จากนั้นก็สั่ง Pre-roll Edit (Preview) หรือ Pre-roll Edit (Rec) (สองปุ่มนี้ปกติจะไม่ใส่ใว้ให้ เราต้องไปเพิ่มปุ่มลงบน Player ก่อน โดยทำจากเมนู Settings>User Settings>User Interface>Button) มันจะเริ่มเปิดคลิปบนไทม์ไลน์ล่วงหน้าก่อนตำแหน่ง In บนไทม์ไลน์เท่ากับ Pre-roll Time ที่ตั้งไว้ใน Settings>User Settings>Preview>Pre-roll Editing เมื่อถึงจุด In ก็แทรกคลิปจาก Player ให้ดู ถ้าสั่งแบบ Pre-roll Edit (Preview) เราสามารถกด Retry เพื่อดูซ้ำได้ตามต้องการ หากยังไม่พอใจก็ปรับแต่งจุด In/Out ให้เหมาะสมใหม่ เมื่อพอใจแล้วจึงค่อยสั่ง Pre-roll Edit (Rec) คราวนี้มันจะวางคลิปบนไทม์ไลน์ตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ให้เลย แต่ก็ยังมีทางเลือกให้หยุดก่อน (Rec Out) ด้วยมือได้ หรือจะสั่งหยุดทั้งหมด (All Stop) เลยก็ได้

  • พรีวิวภาพ 4K แบบ 60P/50P
  • เมื่อใช้การ์ด I/O จากผู้ผลิตรายอื่น ใน EDIUS Pro สนับสนุนเพียง 25P/30P เท่านั้น

  • สนับสนุนการรับส่งไฟล์แบบ FTP
  • คลิป XAVC (MXF), XDCAM (HD) สามารถนำเข้าทาง Source Browser และส่งออกผ่านทาง FTP เพื่อติดต่อกับแม่ข่ายเก็บข้อมูลภายนอกได้

  • ซ้อนคำบรรยายแบบเรียลไทม์
  • เป็นการแทรกคลิปอะไรก็ได้ลงไปบนไทม์ไลน์แบบเรียลไทม์ ไม่จำเป็นต้องเป็นไทเทิลอย่างเดียว วิธีการคือนำคลิปมาเรียงลำดับตามต้องการบนบินก่อน จากนั้นคลิกเลือกคลิปแรกรอไว้ แล้วเข้าสู่โหมด Title Insertion จากเมนู Mode แล้วกด Play เมื่อเล่นถึงตำแหน่งที่ต้องการก็กดส่งคลิปลงไปบนไทม์ไลน์ กดซ้ำเมื่อได้ตามเวลาที่ต้องการแล้ว คลิปบนบินจะเลื่อนไปยังตัวถัดมา ทำแบบนี้เรื่อย ๆ เป็นการใส่คำบรรยายให้กับภาพยนตร์นั่นเอง
 
Last Edit: 2018/09/02 06:24 By suchart.
The administrator has disabled public write access.
Go to topPage: 1